SMEs กับการรับมือ ในยุคสังคมไร้เงินสด


2019-10-03 19:49

จำนวนครั้งที่อ่าน : 93

สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society ที่ใช้รูปแบบการชำระเงินที่เรียกว่า e-Payment ทั้งการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต/เครดิต โมบายแอปพลิเคชันของธนาคาร และ e-Wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์

สำหรับในประเทศไทย ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้ e-Payment ได้รับความนิยม และเติบโตอย่างมาก ทั้งการโอนเงินระหว่างบัญชีตนเอง / โอนเงินไปยังบุคคลอื่น รวมถึงการโอนเงินผ่าน QR Code ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คุณปานระพี รพิพันธุ์ พิธีกร อาจารย์ และผู้ประกอบการ ได้ให้ความรู้เรื่อง “ผู้ประกอบการ SMEs กับการรับมือในยุคสังคมไร้เงินสด” ในรายการ SME Clinic Influencer ว่า ด้วยรูปแบบการชำระเงินที่มีความทันสมัย ทำให้พฤติกรรมการใช้จ่าย และชำระเงินของผู้บริโภคในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลง การทำธุรกรรมทั้งหลายสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือสังคมไร้เงินสด ทำให้เราสามารถโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว แค่มีโทรศัพท์มือถือก็ทำได้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สิ่งเหล่านี้ SME ควรทำความเข้าใจ และปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับพฤติกรรมการชำระเงิน และการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่

Alipay และ Wechat Pay ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชำระเงินออนไลน์ของคนจีน ด้วยเหตุนี้ หาก SMEs หรือร้านค้าสามารถรับชำระเงินจากนักท่องเที่ยวจีนด้วยรูปแบบที่คุ้นเคย เช่น มี QR Code ไว้สำหรับรับชำระเงินผ่าน Alipay และ Wechat Pay จะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะขายสินค้า หรือบริการแก่นักท่องเที่ยวชาวจีนได้มากขึ้น

SME /ร้านค้าปลีก ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์

เมื่อ e-Payment เข้ามาแทนที่การใช้เงินสดอย่างสมบูรณ์ SMEs / ร้านค้าปลีกจะได้รับประโยชน์ คือ :

  • สร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า
  • หมดปัญหายักยอก และทอนเงิน
  • บันทึกรายรับ-รายจ่ายออนไลน์

บทบาท และภารกิจของสมาพันธ์ฯ มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นองค์กรหนึ่ง ที่เป็นที่พึ่งพาของ SME ไทยได้ รวมทั้งยังเป็นตัวกลาง ในการสะท้อนปัญหา ของเหล่าผู้ประกอบการ ผ่านไปยังภาครัฐ ปรากฏการณ์สำคัญของ SME ที่จะรวมตัวกันโดยเสรี ไม่ว่าจะเข้าร่วม ในนามของสมาคม ชมรม กลุ่มการค้า หรือแม้แต่ในนามบุคคล ก็ยังเปิดกว้าง รองรับสมาชิก เพื่อจะร่วมเดินทาง ไปพร้อมกัน ติดต่อ สมาพันธ์เอสเอ็มอี ภาคตะวันออก โทร.061-028-4007 Email : [email protected]